ห้องสมุดดิจิตอล เป็นฐานข้อมูลออนไลนดิจิทัลที่สามารถเก็บ ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ และสื่อต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มันมีหลากหลายขนาดอาจได้รับการดูแลโดยองค์กรอิสระหรือบุคคล เนื้อหาดิจิทัลอาจถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องหรือเข้าถึงจากระยะไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการดึงข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันสะดวกมากยิ่งขึ้น ถือเป็นมาตฐานใหม่ของการรับส่งข้อมูล ปัจจุบันนี้เราแบ่งห้องสมุดออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่
1.ห้องสมุดดิจิตอลของสถาบัน ห้องสมุดวิชาการหลายแห่งมักจะมีส่วนร่วมในการสร้างคลังเก็บหนังสือของสถาบัน เอกสาร วิทยานิพนธ์ และงานอื่นๆ ที่สามารถแปลงเป็นดิจิทัลหรือถูกเขียนขึ้นมาแบบดิจิตอล ห้องสมุดประเภทนี้มักจะเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้งานโดยมีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อย ตรงกันข้ามกับการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารเชิงพาณิชย์ซึ่งผู้จัดพิมพ์มักจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปอ่านได้
2.หอจดหมายเหตุดิจิตอล เป็นห้องสมุดที่ต่างจากห้องสมุดทางกายภาพหลายอย่างเช่น มีแหล่งข้อมูลหลักอ้างอิง มีเนื้อหาจัดเป็นกลุ่มมากกว่าแต่ละรายการ มีเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกับใคร
ในสมัยก่อนนั้นห้องสมุดมีการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นักคิดหลายคนพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รวมถึงบรรพบุรุษของเราอย่าง Paul Otlet และ Henri La Fontaine ผู้ที่พยายามรวบรวมและจัดทำแค็ตตาล็อกความรู้ของโลกในปี 1985 ซึ่งเป็นต้นแบบของห้องสมุดสมัยใหม่ การจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลนั้นเกิดขึ้นได้เพราะความก้าวหน้าในยุคอินเทอร์เน็ต ไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งรวบรวมห้องสมุดดิจิตอล แต่ยังเข้าถึงหนังสือของผู้อื่นหลายล้านเล่มผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ
Vannevar Bush และ J.C.R. Licklider เป็นสองผู้มีส่วนร่วมที่พัฒนาแนวคิดนี้ให้เป็นจริง หลังจากที่ Bush เป็นผู้สนับสนุนการวิจัยที่นำไปสู่การวางระเบิดที่ฮิโรชิมา เขาก็เริ่มที่จะสร้างเครื่องมือที่จะใช้แสดงให้คนทั้งโลกเห็นว่าเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหากเราเข้าใจมัน เครื่องนี้ประกอบด้วยหน้าจอ 2 อัน มีปุ่มกด แป้นพิมพ์คำสั่ง ซึ่งเขาตั้งชื่อมันว่า “Memex” มันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงไฟล์ที่เก็บไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นก้าวแรกของการพัฒนาที่สำคัญ
ในปี 1956 Ford Foundation ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับ Licklider เพื่อหาวิธีในการพัฒนาห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีที่มี เกือบทศวรรษต่อมาได้มีมีความพยายามต้องการสร้างระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเครือข่าย ทำให้สามารถเข้าถึงในทุกองค์ความรู้ที่ผู้ใช้งานเรียกดู ระบบนี้มีองค์ประกอบสามส่วนคือ คลังความรู้ คำถาม คำตอบ โดยที่ Licklider เรียกมันว่าเป็นระบบ precognitive โครงการแรกมุ่งเน้นไปที่การสร้างแคตตาล็อกบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักกันในชื่อ Online Public Access Catalog (OPAC) มันประสบความสำเร็จอย่างมากจนในปี 1980 สำนักงานทั้งหลายจึงหันมาใช้งานมันกันมากขึ้น ในปี 1994 ห้องสมุดดิจิทัลได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นตัวเป็นตันด้วยงบประมาณ 24.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยความร่วมมือจากองค์กร DARPA, NASA และ NSF