Digital-library

ห้องสมุดดิจิตอล พัฒนายังไงดี

การยกระดับห้องสมุดจากเดิมเป็นหน่วยงาน หรือ แหล่งเรียนรู้แบบดั้งเดิม มาเป็นห้องสมุดเพื่อประชาชน เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อประชาชนตามแนวทางประเทศไทยยุค 4.0 นั้นถือว่าไม่ง่ายเลย แต่ก็ไม่ได้ยากมากจนเกินไปนัก มาดูกันว่าห้องสมุดดิจิตอลเพื่อยกระดับสู่ความเป็นยุค 4.0 นั้นควรจะพัฒนาอย่างไรดี

Digitallibrary

การกำหนดสารเพื่อเปลี่ยนรูปแบบ

ห้องสมุดดิจิตอล เรื่องสำคัญเลยนั่นคือ การแปลงข้อมูล ข่าวสาร ที่อยู่ในรูปแบบหนังสือ บทความ หรือ รูปแบบอื่นจากหนังสือ ให้กลายมาเป็นดิจิตอล แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงสารทั้งหมดของห้องสมุดให้อยู่ในรูปดังกล่าวเป็นเรื่องดี แต่อาจจะต้องใช้เวลาและงบประมาณค่อนข้างมาก ดังนั้น เราต้องวางแผนจัดเรียงลำดับการสำคัญของการแปลงสารเหล่านี้เสียก่อน อันไหนสำคัญมากกว่าก็ทำก่อน ตามลำดับ รวมถึงการคำนวณงบประมาณด้วย

การพัฒนาเครื่องมือค้นหา

การค้นหาหนังสือในห้องสมุด อาจจะเป็นเรื่องง่ายแล้วในสมัยนี้เนื่องจากมีการพัฒนาข้อมูลสำหรับการค้นหาเพื่อทำให้ได้ง่ายมากขึ้นแล้ว แต่หากจะยกระดับไปถึงห้องสมุดดิจิตอล ทางห้องสมุดอาจจะต้องมีการยกระดับเครื่องมือการค้นหาหนังสือ หรือ สารในห้องสมุดให้สามารถทำได้มากขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ค้นหาจากห้องสมุดก็ตาม อันนี้อาจจะนำระบบการค้นหาเดิม ฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว มาพัฒนาให้ค้นหาได้ดีมากขึ้น ตรงนี้อาจจะต่อยอดไปถึงการค้นหาสารอิเล็กทรอนิกส์ของทางห้องสมุด ให้ค้นหาได้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น

การยกระดับสารอิเล็กทรอนิกส์

ไม่เพียงแต่การแปลงสารจากยุคหนังสือ ยุคอนาล็อก ไปเป็นสารแบบดิจิตอลเท่านั้น ทางห้องสมุดเองต้องมีการสร้างสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาด้วย ซึ่งสารอิเล็กทรอนิกส์นี้จะต้องมีการสร้างความแตกต่างจากสารแบบที่แปลงจากอนาล็อก กล่าวคือ สารเหล่านี้อาจจะมี ข้อความ ภาพ เสียง หรือ แหล่งข้อมูลอื่น(ลิงค์) เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ศึกษา หรือ ค้นหาเรื่องดังกล่าว เข้าใจเนื้อหานั้นอย่างหลากหลาย เจาะลึกมากขึ้น

เครือข่ายฐานข้อมูลวิจัย

งานวิจัย กับห้องสมุด เป็นของคู่กันเสมอ เมื่อก่อนการมองหางานวิจัยอาจจะต้องไปตามหาในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยใหญ่ๆเท่านั้น ถึงจะเจอ แต่ถ้าเป็นห้องสมุดดิจิตอลยุค 4.0 ล่ะ เรื่องนี้จะทำอย่างไรดี คำตอบก็ไม่ยาก โดยปกติห้องสมุดตามแหล่งสถานศึกษา หรือ มหาวิทยาลัย มีการเปิดช่องเพื่อให้ผู้ศึกษาหาความรู้สามารถเข้าถึงงานวิจัยได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกฟิลด์การเรียนรู้ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์  อยู่แล้ว แต่ฐานข้อมูลตรงนี้อาจจะต้องเปิดให้กับห้องสมุดทั่วไปด้วย ไม่แน่งานวิจัยจากห้องสมุดอาจจะทำให้ประชาชนเอาไปต่อยอดสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้

สร้างแหล่งเรียนรู้

แม้ว่าห้องสมุดดิจิตอล ยุค 4.0 เราอาจจะนึกภาพว่าต้องเป็นการค้นหาเอกสารในรูปแบบดิจิตอล แต่เอาเข้าจริงมันก็ไม่ใช่แนวคิดนี้อย่างเดียว ห้องสมุดอาจจะมีการสร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาได้ศึกษาบ้าง เช่น อาจจะจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกว่าห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสืออีกต่อไป แล้วคนจะได้กระตุ้นการเรียนรู้อีกทอดหนึ่ง

Scroll to top